Monday, May 3, 2010

เศรษฐศาสตร์ในกรุงเทพมหานคร


ในที่สุดก็จบการอ่านหนังสือเล่มนี้จนได้ "เศรษฐศาสตร์ในกรุงเทพมหานคร" ของ นรินทร์ โอฬารกิจอนันต์ จบแบบไม่ค่อยรู้เรื่องเท่าไหร่ ที่ว่าอ่านจบจบวันนี้นั้น ก็เพราะเล่มนี้อ่านค้างไว้มาเป็นปีละ เวลาอ่านเล่มไหน อ่านไม่เคยจบเสียที เห็นหนังสือน่าสนใจก็ซื้อ ๆ มา พยายามปรับปรุงละ ไม่งั้นเดี๋ยวกลายเป็นหนึ่งในคนไทยที่อ่านหนังสือน้อยเล่มต่อปี

ส่วนที่ว่าจบแบบไม่ค่อยรู้เรื่องนั้น ไม่ได้โทษหนังสือนะ เพราะหนังสือเขาพยายามทำเรื่องง่าย เอาสิ่งรอบตัวมาเป็นตัวแทนในการสอนให้เข้าใจ ซึ่งแรก ๆ ก็พอเข้าใจดี สำหรับเศรษฐศาสตร์จุลภาค (แม้จะต้องอ่านวนไปวนมาหลายรอบ อ่านแล้วอ่านอีก ใช้หัวที่ไม่ค่อยมีทางเศรษฐศาสตร์ของเราหมกมุ่น ครุ่นคิดอยู่หลายตลบ) พอมาถึงส่วนหลัง เศรษฐศาสตร์มหภาค โอ้ มาย ก้อด อะไรกันเนี่ย นี่ขนาดหนังสือที่ทำมาให้เราอ่านเข้าใจง่ายนะ ถ้าไปเรียนเศรษฐศาสตร์เข้าจริง ๆ สงกะสัยจะโดนไทร์

มีเนื้อหาหลายเรื่องที่ไม่ค่อยเข้าใจ ว่าจะต้องถามผู้รู้ให้ได้ เช่น
จีดีพี เงินเฟ้อ เงินฝืด การลงทุน ดุลการค้า

เรื่องที่เพิ่งเข้าใจอย่างถ่องแท้ หลายคนเข้าใจกันผิด ใช้คำผิด ก็มีเยอะ เช่น
เรื่องของอุปสงค์ อุปทาน คือว่า
จริง ๆ แล้ว "ความต้องการ (Demand)" โดยทั่วไปเราไปแปลสับสนกับ "ปริมาณที่ต้องการซื้อ(Quantity demanded)" ซึ่งคำหลังเป็นสิ่งที่ยืดและหดได้ แล้วแต่ราคา

ผู้เขียนกล่าวไว้ว่า คำแรกนั้นมีลักษณะคล้ายกับ "แผนของการจับจ่ายใช้สอย (Buying Schedule)คือ ปริมาณที่ต้องการซื้อที่ระดับราคาต่าง ๆ เมื่อสินค้าราคาเพิ่ม "ปริมาณที่ต้องการซื้อ"จะลดลง แต่ "ความต้องการ" ไม่ได้ลดลง

เรื่องค่าเสียโอกาส (Opportunity Cost)ถือเป็นต้นทุนที่แท้จริงของแรงงานและวัตถุดิบ เวลาคิดคำนวณต้นทุนเราต้องคิดถึงเจ้าตัวนี้

คนที่มีความรู้พื้นฐานทางเศรษฐศาสตร์ หนังสือเล่มนี้จะยิ่งช่วยเพิ่มความรู้ได้มากทีเดียว สำหรับฉิงก็เป็นพื้นฐานไว้ให้ศึกษาเพิ่มเติมค่ะ

No comments:

Post a Comment